เพลง “ฉ่อย” นั้นเป็นเพลงพื้นเมืองที่มีการแสดงและการร้องคล้ายกับ “ลำตัด” ที่เป็นการแสดงของมลายู สำหรับเพลงฉ่อยจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายชาย และ ฝ่ายหญิง โดยแต่ละฝ่ายจะมีสมาชิก 2 – 3 วัน โดยจะมีการแบ่งหน้าที่ออกเป็นสองส่วนคือ “พ่อเพลง – แม่เพลง” และ “ลูกคู่” ที่จะร้องโต้ตอบระหว่างกัน เนื้อหาที่นำมาใช้ในเพลงนั้นมีความหลากลาย ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับทางโลก จุดเด่นของการร้องเพลงฉ่อยคือไม่จำเป็นต้องมีเครื่องดนตรีบรรเลง สิ่งที่ใช่แทนจังหวะคือการตบมือ
ทำนองการร้องของเพลงฉ่อยที่เป็นเอกลักษณะคือการตอบโต้ระหว่าง ลูกคู่ และ แม่เพลง สำหรับลูกคู่จะรับทำนองด้วยการร้องว่า “เอ่ ชา เอ้ชา ชา ชาชาชา หน่อยแม่” เพลงฉ่อยนี้เริ่มเป็นที่นิยมกันตั้งแต่ พ.ศ.2437 โดยมีชื่อเรียกแบบชาวบ้านกันว่า “เพลงไอ้เป๋” สาเหตุที่ได้ชื่อนี้มาก็เพราะพ่อเพลงคนแรกชื่อ “ตาเป๋” ทำให้คนหันมาเรียกชื่อตาคนนี้แทนมากกว่า จนกระทั่งการแสดงเพลงได้เป็นที่นิยมอย่างมากในแถบจังหวัดฉะเชิงเทรา และยังแพร่อิทธิพลไปอย่างจังหวัดใกล้เคียง หรือไม่ก็เรียกว่า “เพลงฉ่า ตามคำร้องรับของลูกคู่นั่นเอง การแสดงเพลงฉ่อยส่วนใหญ่มักจะจัดขึ้นตามงานเทศกาล หรือสังสรรค์ของหมู่บ้าน มักจะแต่งกายเรียบงง่ายตามที่ถนัด ซึ่งมักจะนุ่งโจงกระเบน หรือ ใส่เสื้อที่มีสีสันสะดุดตาคนดู
ในปัจจุบันนี้ถือเป็นการแสดงที่หาดูได้ยาก ถึงแม้ว่าจะมีการเรียนการศึกษาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้นิยมถึงกับขนาดหาดูได้ทั่วแต่ ในขณะที่นักแสดงบางคนเริ่มหันมาสนใจและต้องการที่จะอนิรักษ์เพลงฉ่อยให้อยู่คู่กับคนไทยไปนานๆอย่างเช่น คุณขวัญจิต ศรีประจันต์ หรือ นักแสดงตลกอย่าง โย่ง, นง และพวง เชิญยิ้ม ต่างก็เป็นคนที่มีความสามารถในการร้องเพลงฉ่อยได้อย่างไพเราะเสนาะหู แถมยังมีรายการเป็นของตัวเองอีกด้วยคือ “จำอวดหน้าม่าน”
ประวัติศาสตร์ของเพลงฉ่อย
เพลงฉ่อยเริ่มลดบทบาทไปอย่างมากในช่วงยุคสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรม รัฐบาลได้ออกมาคุมเข้มในเรื่องต่าง โดยเฉพาะการละเล่นพื้นบ้าน ทำให้เพลงฉ่อยไม่สามารถทำการแสดงได้อย่างอิสระในแบบที่เคยเป็น สิ่งที่รัฐบาลหันไปสนับสนุนแทนก็คือ “รำวง” ถึงกับมีระเบียบให้ข้าราชการไปฝึกรำวงกันเป็นประจำในทุกวันพุธ ผลที่ตามมาคือรำวงนั้นกลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ทำให้เพลงพื้นบ้านทั้งหลายเริ่มที่จะลดความนิยมลงไปตามกาลเวลา